Monday, July 6, 2015

How to Create 'Order Tab' in Saeree ERP/Adempiere/Compiere



วิธีการสร้าง Order Tab
Order Tab คือ แท็บที่ใช้ในการจัดลำดับฟิลด์ในหน้าจอ เพื่อใช้ในการจัดลำดับการแสดงผลของข้อมูล วิธีการ set Order Tab สามารถทำได้โดย
1.       ที่ตารางที่ต้องการจัดลำดับต้องมี Column 3 Columns ต่อไปนี้คือ
a.       SeqNo
b.       SortNo
c.        IsDisplayed
2.       ที่ตารางต้องมีการกำหนด KeyColumn
3.       กรณีที่มี Parent จะต้องมีการกำหนด ParentLinkColumn ด้วยว่าคือ Column ใด

 เมื่อเตรียมตารางเรียบร้อยแล้ว สำหรับ Window, Tabs, Fields ก็เพียงสร้าง แท็บใหม่ขึ้นมาอีก 1 แท็บ และเลือกเป็น Order Tab กำหนด Sequence Column และ Included Column เป็นอันเสร็จพิธี ดูรูป

Sunday, January 24, 2010

การกำหนดค่าบริษัทคู่ค้า (Business Partner)

การกำหนดค่าบริษัทคู่ค้า (Business Partner)

บริษัทคู่ค้า หรือ Business Partner ในระบบหมายถึงคู่ค้าที่องค์กรทำธุรกรรมด้วย สามารถเป็นได้ทั้ง
  • ผู้จำหน่าย (เจ้าหนี้)
  • ลูกค้า (ลูกหนี้)
  • พนักงาน

การกำหนดค่าธนาคาร และบัญชีธนาคาร (Bank & Bank Account)

การกำหนดค่าธนาคาร และบัญชีธนาคาร (Bank & Bank Account)

ระบบบัญชีเจ้าหนี้ (AP: Account Payable)

ระบบบัญชีเจ้าหนี้

ระบบขาย (SO: Sale Order)

ระบบขาย

Friday, November 20, 2009

Saeree ERP Review: ระบบซื้อ

ระบบซื้อ (PO) ใน Saeree ERP เป็นกระบวนงานจัดซื้อสินค้า/วัตถุดิบ/บริการ เข้ามาในกิจการ
  1. สามารถออกใบสั่งซื้อจากระบบได้
  2. สามารถกำหนดหน่วยงานสั่งซื้อได้ทั้งระบบใบสั่งซื้อ หรือระดับรายการสั่งซื้อ
  3. สามารถระบุวันกำหนดส่งของสินค้าต่างกันได้ในใบสั่งซื้อใบเดียวกัน
  4. สามารถระบุคลังสินค้าที่ต้องการให้ส่งสินค้าได้
  5. สามารถกำหนดความเร่งด่วนของคำสั่งซื้อได้
  6. สามารถระบุว่าเป็นคำสั่งซื้อของโครงการใดได้ (ในส่วนของโครงการสามารถกำหนดได้ไม่จำกัดระดับของโครงการ)
  7. สามารถระบุว่าเป็นคำสั่งซื้อของกิจกรรมใดได้
  8. สามารถดูรายงานการสั่งซื้อสินค้าได้
  9. สามารถดูรายงานสินค้าค้างส่งได้
  10. สามารถปิดคำสั่งซื้อได้กรณีที่มีการส่งสินค้าไม่ครบ แต่ไม่ต้องการให้ผู้จำหน่ายมาส่งสินค้าแล้ว และไม่ต้องการให้มีรายการสินค้าค้างส่งในรายงานคำสั่งซื้อ โดยที่ไม่ต้องมาแก้ไขจำนวนในใบสั่งซื้อ



โดยในกระบวนการซื้อ ต้องมีการกำหนดค่าเริ่มต้นต่างๆ ในระบบก่อนดังนี้

  1. กำหนดค่าของผู้จำหน่าย (Vendor) กรณีที่มีการซื้อจากผู้จำหน่ายเป็นประจำ มีการจ่ายชำระด้วยเช็ค ต้องการให้ระบบนำไปออกรายงานภาษีซื้อ จะต้องมีการกำหนดค่าของผู้จำหน่ายไว้ล่วงหน้า ถือเป็นการขึ้นทะเบียนผู้จำหน่ายในระบบ
  2. กำหนดค่าของสินค้า สำหรับสินค้าที่มีการซื้อมาเพื่อขาย ต้องมีการกำหนดรหัสสินค้าด้วย หรือหากเป็นการซื้อมาเพื่อใช้ภายในกิจการ แต่ยังไม่ระบุว่าเป็นค่าใช้จ่ายของหน่วยงานใด จะบันทึกเป็นค่าใช้จ่ายเมื่อหน่วยงานมีการเบิกใช้ และบันทึกค่าใช้จ่ายเข้าหน่วยงานนั้น ต้องมีการกำหนดค่าของรหัสสินค้า
  3. กำหนดค่าภาษี หรืออัตราภาษี สำหรับที่จะต้องใช้ในการออกรายการคำสั่งซื้อ
  4. การกำหนดค่าของหน่วยงาน เบื้องต้นระบบจะสร้างหน่วยงานให้ 1 หน่วยงานอยู่แล้วคือสำนักงานใหญ่ แต่หากภายในองค์กรมีหน่วยงานหลายหน่วยงาน และต้องการที่จะทราบรายได้หรือค่าใช้จ่ายต่อหน่วยงานก็สามารถกำหนดหน่วยงานได้ไม่จำกัด
  5. ราคาสินค้า ในการสร้างสินค้าจะต้องมีการระบุราคาของสินค้าไว้ด้วย และสามารถที่จะกำหนดวันที่จะเริ่มใช้ราคานั้นได้ด้วย หากมีการสั่งซื้อสินค้าที่ไม่ได้มีการกำหนดราคาไว้ ระบบจะฟ้องว่าสินค้าไม่ได้กำหนดราคา แต่่ผู้ใช้สามารถที่จะเปลี่ยนแปลงราคาซื้อนี้ใหม่ได้ที่หน้าจอคำสั่งซื้อ ในทางกลับกัน ก็สามารถที่จะล็อกไม่ให้ผู้ใช้เปลี่ยนแปลงราคาก็ได้ (ต้องมีการปรับแต่งระบบ)